รูปแบบและขั้นตอนการดำเนินการโครงการ
เดือน | กิจกรรม |
ตุลาคม – ธันวาคม |
|
ธันวาคม – มีนาคม |
|
มีนาคม – เมษายน |
|
พฤษภาคม เป็นต้นไป |
|
การจ้างงานจะเป็นไปตามการจ้างงานครูชาวต่างประเทศปกติทั่วไปของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มิใช่การรับครูอาสาหรือการฝึกงาน โดยการสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการไต้หวันนั้น เป็นการสนับสนุนค่าครองชีพของครูชาวไต้หวัน มิใช่เป็นค่าจ้างเพื่อให้ครูฯ เดินทางไปสอน ณ ประเทศไทย
* สถาบันการศึกษาในประเทศไทยจะเป็นผู้จ้างงาน โดยการจัดหางบประมาณการจ้างงานครูชาวต่างประเทศ และเป็นผู้สนับสนุนตรวจลงตรา (VISA) รวมถึงเป็นผู้ดำเนินการจัดหาใบอนุญาตทำงานให้แก่ครูภาษาจีนชาวไต้หวัน * ดังนั้นสวัสดิการและเงินเดือนต่างๆ ที่สถาบันฯ ในประเทศไทยควรมีให้ครูภาษาจีนสำหรับการจ้างงานได้แก่
- ค่าตอบแทนและสวัสดิการพื้นฐาน
- เงินเดือน (ไม่ควรต่ำกว่าอัตราเงินเดือนพื้นฐานสำหรับจ้างครู/อาจารย์ชาวต่างประเทศของประเทศไทย)
- สวัสดิการอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดในการจ้างครู/อาจารย์ชาวต่างประเทศ
- สวัสดิการอื่นๆ (ไม่บังคับ)
ขึ้นอยู่กับนโยบายและวิธีการของแต่ละสถาบันการศึกษา ที่ต้องการดึงดูดความสนใจครูภาษาจีน ได้แก่
- ที่พัก โดยสถาบันการศึกษาจัดหาที่พัก หรือ สนับสนุนค่าที่พักให้ (อาจเป็นหอพัก/บ้านพักครูภายในหรือภายนอกสถาบันฯ)
- ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรือประกันภัยอื่นๆ
- ค่าธรรมเนียมการขอตรวจลงตรา (วีซ่า VISA) ในประเทศไทย
- ค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- ค่าธรรมเนียมการต่ออายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
- รถรับส่งสนามบิน (สถาบันฯ สามารถจัดรถมารับครู/อาจารย์เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรก)
** ระยะเวลาการเซ็นสัญญาจ้างงาน ขึ้นอยู่กับทางสถาบันการศึกษาในประเทศไทยกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการเซ็นสัญญาครั้งละ 1-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงข้อสัญญาปฎิบัติงานระหว่างสถาบันฯ กับครูผู้สอน โดยโครงการฯ มีหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายประสานงาน ติดต่อสื่อสารระหว่าง โรงเรียนและครูผู้สอนเท่านั้น
เพื่อให้การจ้างงานครู/อาจารย์ภาษาจีนของโครงการฯ เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกฎหมายของประเทศไทยในการจ้างงานบุคลากรชาวต่างประเทศ ดังนั้น สถาบันการศึกษามีความจำเป็นต้องรับรองสถานะการทำงานของครู/อาจารย์ภาษาจีนและสนับสนุนการออกตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภท Non-Immigrant B (Teaching) รวมถึงการดำเนินการการขอใบอนุญาตทำงานและใบประกอบวิชาชีพครู (ยกเว้นระดับมหาวิทยาลัย) ให้กับครู/อาจารย์ภาษาจีนได้ โครงการฯจึงได้กำหนดสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ดังนี้
- สถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ทั้งรัฐบาลและเอกชน ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐบาล
- สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งรัฐบาลและเอกชน ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐบาล
- สามารถเป็นผู้สนับสนุนตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant B (Teaching) และเป็นผู้รับรองการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และใบประกอบวิชาชีพครู (ชั่วคราว) ให้แก่ครูภาษาจีนได้
เมื่อสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้คัดเลือกครู/อาจารย์ภาษาจีน เรียบร้อยแล้วแล้ว โครงการ ฯ จะออกหนังสือแจ้งรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้แก่สถาบันฯ เพื่อดำเนินการด้านเอกสารขอตรวจลงตรา (วีซ่า) ให้แก่ครู/อาจารย์
เอกสารการขอตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant B (Teaching) แบบชั่วคราว ตามข้อมูลของสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) มีดังนี้
- หนังสือเดินทางที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปและมีพื้นที่ว่างสำหรับวีซ่าอย่างน้อย 1 หน้า
- สำเนาบัตรประชาชน
- รูปถ่ายขนาด 2”x2” (จำเป็นต้องเป็นรูปถ่ายที่มีพื้นหลังเป็นสีขาว เห็นหน้าเต็มแบบชัดเจน ไม่สวมหมวกและแว่นสีเข้ม และถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
- แบบฟอร์มการขอวีซ่า
- หนังสือราชการจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย (เรียน ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) และระบุถึงการยืนยันการจ้างงานครู/อาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือก) โดยหนังสือมีอายุ 1 เดือนถึงวันที่ครูเดินทางไปขอวีซ่า ณ ไทเป ไต้หวัน
- สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน (โดยเซ็นรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจ และประทับตราสถาบัน)
- ปริญญาบัตรการศึกษาสูงสุด (ตัวจริงและสำเนา)
- หนังสือราชการจากหน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันฯ (เช่น หากเป็นโรงเรียนระดับมัธยม ให้ดำเนินการขอหนังสือราชการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาxxx ในจังหวัดที่โรงเรียนจัดตั้ง) เรียน ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) และระบุถึงการยืนยันการจ้างงานครู/อาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกโดยหนังสือมีอายุ 1 เดือนถึงวันที่ครูเดินทางไปขอวีซ่า ณ ไทเป ไต้หวัน ** สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องส่งเอกสารนี้**
- หนังสือรับรองความประพฤติจากสำนักงานตำรวจไต้หวัน (มีอายุไม่เกิน 3 เดือน)
- ประวัติการทำงาน (CV) ภาษาอังกฤษ
- ค่าธรรมเนียมวีซ่า
สถาบันการศึกษาในประเทศไทย จำเป็นต้องเตรียมเอกสารในข้อ 5. 6. และ 8. ฉบับจริง และส่งให้กับครู/อาจารย์ภาษาจีนที่ได้รับคัดเลือกที่ไต้หวัน เพื่อดำเนินการขอตรวจลงตรา (วีซ่า) แบบชั่วคราว ก่อนเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศไทย
** ทั้งนี้ตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภท Non-Immigrant B (Teaching) แบบชั่วคราวที่ดำเนินการ ณ ไต้หวัน จะมีอายุเพียง 3 เดือน (90วัน) นับตั้งแต่วันที่ครู/อาจารย์เดินทางไปถึงประเทศไทย และ จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นวีซ่าระยะยาวหลังจากดำเนินการขอใบอนุญาตทำงาน (Work permit) แล้ว **
เอกสารการขอตรวจลงตรา (วีซ่า) ของเว็บไซต์ของสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป)
เมื่อครู/อาจารย์ภาษาจีนเดินทางถึงประเทศไทย และเซ็นสัญญาจ้างกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยแล้ว สถาบันฯ ต้องดำเนินการด้านเอกสารของครูฯ ดังนี้
1. ดำเนินการขอใบประกอบวิชาชีพครูชั่วคราว (ทางออนไลน์) ใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 2 สัปดาห์ (สำหรับสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ไม่ต้องดำเนินการ)
เอกสารในการดำเนินการ >> ขอใบประกอบวิชาชีพครูชั่วคราว <<
2.เมื่อได้ใบประกอบวิชาชีพครูชั่วคราวแล้ว ดำเนินการขอใบอนุญาตทำงาน ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 สัปดาห์
เอกสารในการดำเนินการ >> ขอใบอนุญาตทำงาน <<
3. เมื่อใด้ใบอนุญาตทำงานแล้ว ดำเนินการขอตรวจลงตรา (วีซ่า) กรณีขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
เอกสารในการดำเนินการ >> ขอตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant B (กรณีขออยู่ต่อในราชอาณาจักร) <<
เอกสารด้านบน เป็นเอกสารที่จำเป็นต้องทำตามลำดับ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนาน ดังนั้นโครงการฯ แนะนำให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทย ดำเนินการทันทีหลังจากที่ครู/อาจารย์ภาษาจีนเดินทางไปถึงประเทศไทยและเซ็นสัญญาจ้างงานเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ครู/อาจารย์ขอนอกราชอาณาจักรไทย มีอายุเพียง 90 วัน และไม่ใช่วีซ่าระยะยาว หากเกินเวลาที่ได้รับอนุญาตแล้ว ครู/อาจารย์จำเป็นต้องเดินทางออกจากประเทศไทยทันที